บทที่ 1 รูปแบบธุรกิจ

                                                      
            การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการต้องเลือกรูปแบบองค์กรให้เหมาะสมกับเงินทุน ความรู้ ความสามารถ และวัตุประสงคืของการจัดตั้ง   เพื่อให้การประกอบธุรกิจเป้นสิ่งที่ถูกต้องตามกฏหมาย  ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการขอจัดตั้งธุรกิจโดยการขอจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ( Department  of  Business  Development ) ทั้งนี้เพื่ประโยชน์ในการส่งเสริม  กำกับดูแล และให้บริการในการประกอบธุรกิจแก่ผู้ระกิบการ  องคืกรธุรกิจแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
             1. การแบ่งตามลักษณะการประกอบการ
             2. การแบ่งตามลักษณะการจัดตั้งตามกฏหมาย

1.การแบ่งตามลักษณะการประกอบการ
    1.1 กิจการบริการ (Service Firm) 
                  เป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจกรรมในลักษณะที่ให้ผลประโยชน์หรือการสร้างความพึงพอใจเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยจะได้รับผลตอบแทนในรูปของค่าบริการ เช่น โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาลโรงแรมและรีสอร์ท สำนักงานทนายความ สำนักงานรับทำบัญชี อู่ซ่อมรถยนต์ ร้านเสริมสวย เป็นสินค้าที่ไม่สามารถจับต้องได้ ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจะไม่สามารถมองเห็น หรือเกิดความรู้สึกได้ก่อนที่จะมีการใช้บริการ ดังนั้นผู้ให้บริการต้องสร้างความเชื่อมั่นในแง่ของสถานที่ บุคคลผู้ให้บริการ เครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในงานบริการสัญลักษณ์และราคา เป็นต้น
     1.2 กิจการซื้อ - ขายสินค้า (Merchandising Firm) 
                  การดำเนินธุรกิจซื้อสินค้ามาและขายสินค้าไป  รายได้เกิดจากการขายสินค้า  ส่วนค่าใช้จ่าย คือ ต้นทุนสินค้าที่ขาย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการซื้อ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำให้สินค้าอยุ่ในสภาพพร้อมที่จะขาย  นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ  และดอกเบี้ยจ่าย ธุรกิจซื้อ - ขายสินค้า ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายเสื้อผ้า ร้านจำหน่ายหนังสือ  เป็นต้น
      1.3 กิจการอุตสาหกรรม (Manufacturing Firm) 
                 กิจการอุตสาหกรรมเป็นกิจการที่ใหญ่ อยู่ในรูปของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือรูปแบบบริษัท มุ่งเน้นไปที่ด้านการผลิตสินค้า หรือมุ่งเน้นไปทางด้านการให้บริการ เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมด้านการคมนาคม ส่วนในกลุ่มของอุตสาหกรรมด้านการผลิต มีดังนี้ อุตสาหกรรมเครื่องหนัง อุตสาหกรรมเครื่องประดับ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องตกแต่งบ้าน อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมผ้า เป็นต้น ตลาดอุตสาหกรรม ผู้ที่มาซื้อสินค้าไม่ใช้ผู้ซื้อโดยทั่วไป แต่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือหน่วยงานราชการ ที่จะเข้ามาจัดหาสินค้าและบริการต่างๆเพื่อนำไปผลิตสินค้าแล้วนำไปจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง เนื่องจากองค์กรธุรกิจต่างๆไม่ได้เพียงแต่ขายสินค้าเท่านั้น ยังต้องอาศัยชิ้นส่วนประกอบ โรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งผู้ที่จัดจำหน่ายต้องเข้าใจถึงความต้องการขององค์กรต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละองค์กร และแตกต่างจากบุคคลทั่วไป ในการผลิตสินค้าของกิจการอุตสาหกรรมจะต้องซื้อวัตถุดิบมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยมีคนงานช่วยผลิต และมีค่าใช้จ่ายในการจ้างงาน นอกจากนี้ยังต้องจ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้า วัสดุต่างๆที่ใช้ไป เมื่อผลิตสินค้าเสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูปก็จะโอนไปจำหน่ายให้ลูกค้า อาจเป็นทั้งจำหน่ายปลีกหรือจำหน่ายส่งต่อไปซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเช่นเดียวกับกิจการ ซื้อ ขาย สินค้าตามปกติ สินค้าและปริมาณเงินจะมีมากอย่างเห็นได้ชัด ในกระบวนการผลิตทั่วไปจะประกอบด้วยหลากหลายขั้น ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องผ่านการจัดหาวัสดุและทำการส่งต่อไปยังโรงงานถัดไป เมื่อผลิตเรียบร้อยแล้วจึงนำไปขายส่งให้กับผู้ค้าปลีกต่อไป และผู้ค้าปลีกจึงนำไปขายต่อให้กับผู้บริโภคในที่สุด  จะเห็นได้ว่าก่อนที่จะเป็นการขายสินค้าให้กับผู้บริโภคครั้งหนึ่งนั้น มีการซื้อขายระหว่างองค์กรต่างๆมากถึง 4 ครั้ง และภาคอุตสาหกรรมจะต้องมีการซื้อขายกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้อุตสาหกรรมเป็นตลาดที่ใหญ่และมีมูลค่าในการผลิตที่สูง ในส่วนของการตลาดภาคอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง ทำให้เป็นเรื่องยากที่องค์กรใหม่ๆจะเข้าไปแทนที่องค์กรเดิมที่มีอยู่แล้วได้ เพราะส่วนใหญ่คู่ข้าจะผูกขาดสินค้าและบริการของกันและกัน ความได้เปรียบและช่วงชิงตลาดจึงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความเหมาะสมด้านคุณภาพที่ได้ผลิตตัวสินค้าออกไป

2. การแบ่งตามลักษณะการจัดตั้งตามกฏหมาย
      2.1 กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship)  
                  เป็นกิจการที่ตั้งง่ายใช้เงินทุนไม่มาก เจ้าของกิจการมีอำนาจในการตัดสินใจ  เป็นกิจการขนาดเล็ก  เช่น ร้านค้าย่อยหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น สำนักงานบัญชี สำนักงานทนายความ สำนักแพทย์  เป็นต้น  การจัดตั้งหรือเลิกล้มกิจการทำได้ง่าย
                  ข้อดีของกิจการเจ้าของคนเดียว
                          
-  ง่ายและสะดวกในกาจัดตั้ง คือ ถ้าผู้ประกอบการ มีทุน มีความรู้ในธุรกิจที่ทำ ก็สามารถดำเนินการได้โดยง่าย
                      -  มีอิสระในการดำเนินงาน คือ ผู้ประกอบการจะตัดสินใจในด้านต่างๆ แต่เพียงผู้เดียวสามารถใช้ความรู้และวิจารณญาณส่วนตัวได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องเสียวเวลาปรึกษาหารือกับผู้อื่น ทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
                      -  ได้รับผลกำไรคนเดียว คือ ผู้ประกอบการไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้คนอื่น สามารถนำเงินไปลงทุนขยายกิจการด้านต่างๆได้
                      -  มีข้อบังคับทางกฏหมายน้อย คือ ถ้าจะตั้งป็นร้านค้าก็เพียงแต่จดทะเบียนการค้า หรือทะเบียนพาณิชย์   ก็ถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ส่วนกิจการที่ไม่มีที่ตั้งแน่นอน เช่นหาบเร่ รถเข็น ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน
                      -  เลิกล้มกิจการได้ง่าย ถ้าผู้ประกอบการต้องการจะเลิกกิจการสามารถทำไดโดยง่าย  เช่น เลิกกิจการไปเลย หรือขยายกิจการ
                  ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
                       
-  เจ้าของกิจการรับผิดชอบไม่มีที่สิ้นสุดคนเดียว การประกอบกิจการแบบนี้ ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบในภาระต่างๆ โดยไม่จำกัด
                     -  มีทุนจำกัดและยากที่จะหาทุนมาเพิ่มเติม เนื่องจากกิจการมีขนาดเล็ก การกู้ยืมทำได้ยาก
                     -  ความสามรถในการคิดและการบริหารงานมีจำกัด เนื่องจากบริหารงานคนเดียว เป้นภาระที่ค่อนข้างหนัก และยังมีข้อจำกัดในเรื่องเวลา ความคิด แรงงาน
                     -  ขยายต่อเนื่องในการดำเนินงาน  ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ เนื่องจากสุขภาพไม่ดี
      2.2 กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership) 
                      ต้องมีความประสงค์ที่จะแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำตามที่ตกลงกันในสัญญา ประเภทของห้างหุ้นส่วน   ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1013 ได้กำหนดห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภทคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด 
            2.2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Unlimited Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้ และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิที่จะจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
                      1. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา คำนำหน้าชื่อห้างหุ้นส่วนใช้คำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ถ้าไม่ได้ระบุลงในสัญญาห้าง ตามกฎหมายให้ถือว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิที่จะจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้ 
                      2. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีสภาพเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน คำนำหน้าชื่อห้างหุ้นส่วนใช้คำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้มีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียวคือหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน และในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง จะตกลงให้มีผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการของ ห้างหุ้นส่วนก็ได้       2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
             2.2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทที่มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ได้แก่ 
                      1. หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน และหุ้นส่วนจำพวกนี้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างได้ 
                      2. หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างไม่ได้ 

                        ข้อดีของกิจการห้างหุ้นส่วน
                             -  มีแหล่งเงินทุนมากกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
                             - สามารถใช้ความสามารถในการบริหารโดยระดมสมองร่วมกันตัดสินใจบริหารงาน
                             - การเสี่ยงน้อยลง เพราะมีผู้ร่วมเฉลี่ยภาระการเสี่ยง
                             - การจัดตั้งไม่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการต่ำ
                             - เลิกกิจการได้ง่าย
                      ข้อเสียของกิจการห้างหุ้นส่วน
                             - มีการระดมทุนในวงจำกัดเฉพาะจากผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น
                             - กำไรถูกแบ่งเฉพาะหุ้นส่วน
                             - การตัดสินใจอาจล่าช้า เพราะความคิดเห็นขัดแย้งกันในบางกรณี
                             - มีอายุจำกัด ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของห้างหุ้นส่วนแต่ละแห่ง ถ้ามิได้ระบุเป็นอย่างอื่น ความเป็นห้างจะสิ้นสุดลงเมื่อหุ้นส่วนถอนตัว หรือมีหุ้นส่วนคนใดเสียชีวิตลง
                             - การไม่จำกัดความรับผิดชอบของหุ้นส่วน ทำให้อาจไม่กล้าเสี่ยงขยายกิจการ
      2.3 บริษัท จำกัด (Limited Company)
                    คือ องค์การธุรกิจ ซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 บัญญัติว่า "บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่าๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ" จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้การประกอบกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัดนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะการประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก การระดมเงินทุน
กิจการในรูปแบบนี้จัดทำได้ง่ายและได้จำนวนมาก นอกจากเงินทุนที่ได้จะได้จากเจ้าของกิจการผู้เริ่มก่อตั้งแล้วยังมีการระดมเงินทุนจากบุคคลทั่วไปด้วยรวมทั้งการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารที่มีความสามารถร่วมกันดำเนินกิจการ 
ส่งผลให้เป็นกิจการที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือมากประเภทหนึ่ง
                     ข้อดีข้อจำกัดของบริษัทจำกัด
                              - สามารถจัดหาเงินทุนได้จำนวนมากตามที่ต้องการโดยการออกหุ้นจำหน่ายเพิ่ม หรือจัดหาโดยกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้รับ ความเชื่อถือมากกว่ากิจการประเภทอื่น
                             -  การดำเนินกิจการบริษัทไม่จำกัดระยะเวลาตามอายุของผู้ถือหุ้นดังนั้นระยะเวลาในการดำเนินกิจการจึงยาวกว่าการดำเนินกิจการประเภทอื่น
                            -  ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเฉพาะมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบเท่านั้นโดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินใด ๆ ของบริษัท
                            -  การบริหารงานสามารถหาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์จัดการแทนได้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน
                            -  ผู้ถือหุ้นของบริษัทสามารถโอนหรือขายหุ้นให้ผู้ใดก็ได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากบริษัทก่อน
                    ข้อจำกัดของบริษัทจำกัด
                           -  การจัดตั้งบริษัทมีขั้นตอนตามกฎหมายที่ยุ่งยาก
                           -  กิจการบริษัทเนื่องจากต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกทราบจึงไม่อาจรักษาความลับได้
                           -  เนื่องจากในการดำเนินการของบริษัทจำกัด มีผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทและพนักงาน ดังนั้นในการปฏิบัติงานอาจจะมีบางส่วนที่ขาดความตั้งใจในการทำงานเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเอง
                           -  การเสียภาษีของกิจการประเภทบริษัทจะเสียภาษีค่อนข้างสูงและซ้ำซ้อนคือบริษัทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของกิจการดังนั้น 
จะต้องเสียภาษีนิติบุคคลเมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ในฐานะผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาอีกด้วย

                การเปรียบเทียบลักษณะกิจการประเภทต่างๆ



3. การบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ (Owner"s Equity หรือ
   
    Capital)
      ส่วนของเจ้าของหรือทุน หมายถึง ทุนที่เจ้าของกิจการนำมาลงทุนเป็นเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นรวมทั้งกำไรสุทธิที่ยังมิได้แบ่งให้แก่ส่วนของเจ้าของกิจการด้วย ส่วนจองเจ้าของ รายได้ หมายถึง ผลตอบแทนที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติของกิจการรวมทั้งผลตอบแทนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ  ใช้คำนวนหาส่วนของเจ้าของได้ดังนี้
               
                                 ส่วนของเจ้าของ  = สินทรัพย์ - หนี้สิน
              
            ในกรณีไม่มีหนี้สิน

                                 ส่วนของเจ้าของ = สินทรัพย์

       3.1 กิจการเจ้าของคนเดียว  
               ผู้ประกอบการเพียงคนเดียวที่เป็นเจ้าของกิจการ และบริหารงานทุกด้านของธุรกิจด้วยการตัดสินใจคนเดียว การประกอบธุรกิจจะทำโดยนำสินทรัพย์ส่วนตัวของตน หรือเงินที่ยืมมาจากเครือญาติ เพื่อนฝูง สถาบันการเงินมาลงทุน ดังนั้นธุรกิจเจ้าของคนเดียวมักจะเป็นธุรกิจส่วนตัวที่มีเงินทุนดำเนินการไม่มาก และมีขอบเขตของการดำเนินธุรกิจค่อนข้างจำกัด จึงเหมาะสมกับธุรกิจที่ต้องการเงินทุนน้อย บริหารงานอย่างเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนหรือมีขั้นตอนมาก และเน้นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ เช่นพวกขายอาหารเล็กๆ หรือ ธุรกิจขายเสื้อผ้าเล็กๆ
           3.1.1 บัญชีทุน (Capital  Account)  เป็นบัญชีที่บันทึกรายการเกี่ยวกับเงินลงทุนครั้งแรก  เช่น การนำเงินสด  หรือสินทรัพย์อื่นมาลงทุน  การเพิ่มทุนหรือการถอนทุนระหว่างงวด  การรับรู้ผลการดำเนินงาน  ซึ่งอาจจะเป็นกำไรหรือขาดทุน  และถอนใช้ส่วนตัวของเจ้าของกิจการ  เป็นต้น
           3.1.2 บัญชีถอนใช้ส่วนตัว (Drawing  Account)  เป็นบัญชีที่บันทึกการถอนเงินหรือการเบิกสินทรัพย์อื่น  โดยเจ้าของกิจการนำไปใช้ส่วนตัว  การบันทึกบัญชี  จะเดบิตถอนใช้ส่วนตัว  และเครดิตบัญชีที่เกี่ยวข้อง  เมื่อสิ้นงวดบัญชีจะโอนปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวไปบัญชีทุน  มีผลทำให้บัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของลดลง
       3.2 กิจการห้างหุ้นส่วน
                     ซึ่งกิจการห้างหุ้นส่วนเป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจการค้าที่นิยมกันมาก เพราะมีวิธีการจัดตั้งง่ายกว่าบริษัทจำกัด และใช้เงินทุนจำนวนน้อย เหมาะสำหรับกิจการค้าขนาดกลางและขนาดย่อม มีบุคคลที่ร่วมมาลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ผลกำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจก็จะนำมาแบ่งปันกันตามอัตราที่ตกลงในสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ความหมายของห้างหุ้นส่วน  ห้างหุ้นส่วน (Partnership) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012 บัญญัติไว้ว่า “อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น”
            3.1.1 บัญชีทุน (Capital  Account)  บัญชีที่ใช้บันทึกรายการที่ก่กให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนโดยตรง  เช่น  รายการลงทุนครั้งแรก  การเริ่มทุนและการถอนทุนบัญชีของห้างหุ้นส่วนมีจำนวน เท่ากับจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน  เช่น  ห้างหุ้นส่วน  ดาวล้อมเดือน  มีหุ้นส่วน  3  คน  บัญชีทุนของห้างหุ้นส่วนจะมี  3  บัญชี  คือ บัญชีทุน - ดาว  บัญชีทุน - ล้อม  บัญชีทุน - เดือน
           3.1.2 บัญชีเดินสะพัดทุนหรือบัญชีกระแสทุน (Current  Account)


 บทสรุป
          รูปแบบของธุรกิจแบ่งได้  2  ลักษณะคือ  การแบ่งตามลักษณะการประกอบการ  ซึ่งได้แก่  กิจการบริการ  กิจการซื้อ - ขายสินค้าและบริการอุตสาหกรรม  และการแบ่งตามลักษณะการจัดตั้งตามกฏหมาย  ซึ้งได้แก่  กิจการเจ้าของคนเดียว  กิจการห้างหุ้นส่วน  และกิจการบริษัท  จำกัด
          การบันทึกบัญชีของแต่ละกิจการในส่วนของสินทรัพย์  หนี้สิน  รายได้  และค่าใช้จ่าย  เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียว  ยกเว้นส่วนของเจ้าของที่แสดงในงบดุลจะแสดงแตกต่างกันไปตามรูปแบบของการจัดตั้งธุรกิจ
          กิจการแต่ละประเภทมีทั้งข้อดี  และข้อเสีย  การจะเลือกประกอบกิจการประเภทใด  ผู้ประกอบการจะต้องเลือกรูปแบบของกิจการให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ  เงินทุน  และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกิจการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น